แนะนำ สถานที่ท่องเที่ยวบ้านเกิดขอผม

สถานที่ท่องเที่ยว   จังหวัดบุรีรัมย์




บุรีรัมย์.... เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

อำเภอประโคนชัย


ปราสาทเมืองต่ำ บุรีรัมย์


ประวัติ
            ปราสาทเมืองต่ำสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในศิลปะปาปวนตอนต้น และลดความสำคัญลงไปในราวพุทธศตวรรษที่ 18 และถูกทิ้งร้างในที่สุด จนเมื่อราวปี พ.ศ. 2490 จึงเริ่มมีการอพยพเข้ามาของชาวบ้าน มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้อีกครั้งหนึ่ง

             ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคำว่า เมืองต่ำ นี้ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิม แต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่ในที่ต่ำกว่าปราสาทพนมรุ้ง โดยมวลสารวัตถุจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุในที่นี้ รัชกาลที่ 9 ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระสมเด็จจิตรลดา


ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

           ปราสาทแถวหลังทิศใต้(ซ้าย) และปราสาทแถวหลังทิศเหนือ(ขวา)ปราสาทเมืองต่ำน่าจะเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย เพราะถึงแม้ได้มีการขุดพบศิวลึงค์ แต่ภาพสลักส่วนมากที่ปราสาทนี้ ล้วนเป็นภาพเกี่ยวกับการอวตารของพระนารายณ์ อีกทั้งเป็นปราสาทน้ำล้อม ซึ่งเป็นลักษณะของไวษณพนิกาย ต่างจากปราสาทบนภูเขาของไศวนิกาย

ปราสาทเมืองต่ำมีปรางค์ประธานห้าองค์บนฐานเดียวกัน เช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิ โดยแต่ละองค์มีรายละเอียดดังนี้

ปรางค์ประธาน
           ปรางค์ประธานปัจจุบันได้ถล่มลงมาแล้ว พบเพียงฐานเป็นศิลาแลง และหน้าบันซึ่งสลักจากหินทราย เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะปาปวน สันนิษฐานว่าตัวปราสาทเป็นปราสาทหินทราย

ปราสาทประกอบ
           ปราสาทประกอบอีก 4 หลังเป็นปราสาทอิฐ ปัจจุบันได้รับการบูรณะในสภาพสมบูรณ์ และมีหน้าบันด้านหน้าอยู่ครบ โดยปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้ มีหน้าบันเป็นภาพพระวรุณเทพประทับเหนือหงษ์ ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือเป็นภาพพระกฤษณะ (ร่างอวตารของพระวิษณุ) ยกภูเขาโควรรธนะ ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศใต้เป็นภาพพระอินทร์ ปางมหาราชลีลาสนะ (นั่งชันเข่า) ประทับเหนือหน้ากาล ส่วนปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ เป็นภาพพระศิวะคู่พระอุมา ประทับบนโคนนทิในปาง อุมามเหศวร



      

ปราสาทบ้านบุ หรือธรรมศาลา หรือบ้านมีไฟ    
 


 อำเภ
             ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์ ตำบลจระเข้มาก การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับทางไป ปราสาทเมืองต่ำ โดยปราสาทบ้านบุจะอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 2221 ห่างจากทางแยกเข้าปราสาทเมืองต่ำไปทางประโคนชัย 1.5 กม.

ลักษณะของตัวปราสาท    มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมของสิ่งก่อสร้างที่เชื่อกันว่าเป็นที่พักสำหรับคนเดินทาง (นักแสวงบุญ) ตามที่กล่าวถึงในจารึกประวัติศาสตร์พระขรรค์ ประเทศกัมพูชา ลักษณะเป็นอาคารรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 5.10 เมตร ยาว 11.50 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง กรอบประตูหน้าต่างทำด้วย ศิลาทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูเข้า-ออกเชื่อมติดกับองค์ปรางค์ทางด้านหน้า ภายในมีแท่นวางรูปเคารพอยู่ 1 แท่น พบชิ้นส่วนทับหลัง สลักภาพพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้ม เรือนแก้ว 2 ชั้น ซึ่งเป็นหลัก ฐานยืนยันอายุการสร้างและลัทธิทางศาสนาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ห่างจากอาคารประมาณ 4 เมตร มีร่องรอยกำแพงก่อด้วยแลงเหลือเป็นแนวเสมอพื้นดินพอให้รู้ขอบเขต

 
กุฏิฤาษีหนองบัวราย หรือ ปราสาทหนองกง

          อยู่ห่างจากเชิงเขาพนมรุ้งไปทางทิศ ใต้ประมาณ 2.8 กม. ตามเส้นทางพนมรุ้ง-ประโคนชัย มีสิ่งสำคัญคือ

ปรางค์ สร้างด้วยศิลาแลง เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมกว้าง 5 เมตร มีประตูด้านหน้าอยู่ทางตะวันออก ส่วนทาง ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก ทำเป็นประตูหลอก ศิลาทับหลังประตูมุขจำหลัก เป็นพระพุทธรูปปาง สมาธินั่งอยู่เหนือเศียรเกียรติ มุข มือทั้งสองของเกียรติมุขจับพวงมาลัย ยอดปรางค์ทำย่อเป็นบัวเชิงบาตร 4 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบขนุนศิลา จำหลักลายและรูปภาพตั้งประดับ

กำแพง ก่อด้วยแลง ประตูกำแพงทำอย่างประตูซุ้มอยู่ทางทิศตะวันออก ส่วนริมทางข้างซ้ายมีเนินดินสูง ประมาณ 2 เมตร กว้างประมาณ 3-4 เมตร เป็นคันยาวเหยียดไปไม่น้อย กว่า 1 กม. บนสันเนินมีราก ฐานสิ่งก่อสร้างขนาดย่อมๆ อยู่ 2-3 ตอน ห่างจากสันเนินออกไปเล็กน้อยมีหนองน้ำ กว้างใหญ่ เรียกว่า หนองบัวราย (บำราย) หรือสระเพลง

อำเภอบ้านกรวด


แหล่งหินตัด

 
           ตั้งอยู่ในเขตอำเภอบ้านกรวด  บริเวณเขากลอยและเขากระเจียว การเดินทางใช้เส้นทาง สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ทางหลวงหมายเลข 219 ต่อด้วยทางสายประโคนชัย-บ้านกรวด ทางหลวง หมายเลข 2075 เดินทางตั้งอยู่ในเขตอำเภอบ้านกรวด บริเวณเขากลอยและเขากระเจียว การเดินทางใช้ เส้นทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ทางหลวงหมายเลข 219 ต่อด้วยทางสายประโคนชัย-บ้านกรวด ทาง หลวงหมายเลข 2075 เดินทางเลยบ้านกรวดไปทางละหานทราย 6 กม. มีแยกซ้ายเข้าแหล่งหินตัดอีก 2 กม. ทางลาดยางตลอดสาย

           
              แหล่งหินตัดนี้ เป็นแหล่งหินทรายที่คนสมัยขอม ตัดเอาไปสร้าง ปราสาทต่างๆ ในเขตอีสานใต้ ทั่วบริเวณ มีหินทรายก้อนใหญ่น้อยเรียงรายอยู่ทั่วไป บางก้อนยังมีร่องรอย สกัดหินปรากฏอยู่ นอกจากนั้น บริเวณนี้ยัง เป็นสถานปฏิบัติธรรมของวัดสวนธรรมศิลา ได้รับการดูแลและ ปรับปรุงสถานที่ให้สะอาดสวยงาม และมี ทางเดินจากแหล่งหินตัดไปยังจุดชมวิวบนยอดเขา




 
 












แหล่งเตาโบราณ


           ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร ระหว่างหลักกม.ที่ 21-22 ทางหลวง หมายเลข 2075 ห่างจากตัวเมือง 66 กม. นักโบราณคดีได้สำรวจพบเตาเผา และเครื่องปั้นดินเผา โบราณจำนวนมาก พบว่ามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-19 โดยเตาเผาเหล่านี้ ได้ผลิตเครื่องถ้วยเขมร เพื่อเป็นสินค้าป้อนให้กับเมืองต่างๆ ในกัมพูชา และในภูมิภาคต่างๆ โดยมีการทำอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่โต และขยายขอบเขตการผลิตไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย
           กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเตาโบราณ 2 แห่งคือ เตาสวายและเตานายเจียน ซึ่งอยู่ห่างจาก อำเภอบ้านกรวดเป็นระยะทาง 5 และ 10 กม. ตามลำดับ ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบสามารถชมได้ที่ หอศิลปกรรมบ้านกรวด ในบริเวณที่ว่าการอำเภอ บ้านกรวด






 อำเภอเมือง

วนอุทยานเขากระโดง, บุรีรัมย์ 

 
                เขากระโดงเป็นภูเขาไฟเก่าแก่ที่มองเห็นลักษณะปากปล่องได้ชัดเจน อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 6 กม.บนเส้นทางสาย บุรีรัมย์-ประโคนชัย (ทางหลวงหมายเลข 219) วนอุทยานเหล่านี้มีพันธุ์ไม้พื้นเมือง น่าศึกษา หลายชนิด สามารถขึ้นได้ 2 ทาง คือ ทางรถยนต์ ซึ่งตลอดเส้นทางจะพบพระพุทธรูปปางต่างๆ เรียงรายอยู่เป็นระยะ ส่วนทางขึ้นอีกทางหนึ่งเป็นบันได มีความสูงประมาณ 265 เมตร ก่อนถึงยอดเขา จะเห็นสระน้ำมณีวรรณ อยู่ทางด้านขวามือ สระน้ำนี้เชื่อว่าเดิมเป็นปากปล่องภูเขาไฟ บนยอดเขาเป็นลานกว้าง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสีขาวองค์ใหญ่ ชื่อว่า "พระสุภัทรบพิตร" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองบุรีรัมย์ และมีปรางค์กู่โบราณ ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอยู่ด้วย 



 












 อ่างเก็บน้ำกระโดง


             อยู่ด้านหน้าของภูเขาไฟกระโดง มีทางแยกซ้ายมือก่อนจะถึงเขากระโดง เพื่อเข้าไป ยังค่ายลูกเสือ "บุญญานุศาสตร์" และสวนสัตว์ บริเวณอ่างเก็บน้ำเป็นสถานที่พักผ่อนที่ดีมากอีกแห่งหนึ่ง และจากจุดนี้ สามารถมองเห็นองค์พระสุภัทรบพิตรบนยอดเขากระโดงได้  


อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก

  
           ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ราชการของโครงการชลประทานและที่ทำการประปา อยู่ใน ท้องที่ตำบลเสม็ด บนเส้นทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10-13 กม.ลักษณะเป็น ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ และร่มรื่นด้วยไม้ยืนต้นทั่วทั้งบริเวณ จึงเป็นสถานที่พักผ่อนที่นิยม มากอีกแห่งหนึ่งของ ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง


 






 













 




วัดกลางบุรีรัมย์



             เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองบุรีรัมย์มาแต่โบราณ มีประวัติเล่าว่าสมัยกรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก นำทัพไปปราบเจ้าเมืองนางรอง ซึ่งเป็นกบฏ และได้หยุดพักทัพที่บริเวณนี้ ซึ่งมีสระน้ำขนาดใหญ่แห่ง หนึ่ง ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์อยู่ในวัดกลางบุรีรัมย์ และทางราชการได้มีประกาศยกวัด กลางบุรีรัมย์เป็นพระอารามหลวง แห่งแรกของบุรีรัมย์เมื่อปี พ.ศ. 2533






 










ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์



             ตั้งอยู่ในบริเวณสถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมและจัด แสดง โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุอันมีค่าทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งเป็นแหล่งที่จะค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ได้ทำพิธีเปิดศูนย์แห่งนี้เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2536 และเปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวันในเวลาราชการ 
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ


อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
 


         
 ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง บ้านตาเป็ก ตำบลตาเป็ก จากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ สามารถเดินทางไปพนมรุ้งได้ 2 เส้นทาง คือ


1. ใช้เส้นทางสายบุรีรัมย์-นางรอง (ทางหลวง 208) ระยะทาง 50 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงสาย 24 ไป 14 กม. ถึงบ้านตะโก เลี้ยวขวาผ่านบ้านตาเป็กไปพนมรุ้งเป็นระยะทางอีก 12 กม.


2. ใช้เส้นทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ทางหลวงหมายเลข 23 เป็นระยะทาง 44 กม. จากตัวอำเภอ ประโคนชัย มีทางแยกไปพนมรุ้ง ระยะทางอีก 21 กม. (เส้นทางนี้ผ่านทางแยกเข้าปราสาทเมืองต่ำ ด้วย)


 ปราสาทหินพนมรุ้ง            เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีอายุการก่อสร้างและใช้เป็นเทวสถาน ต่อเนื่องกันมา หลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 17 จนถึงพุทธ ศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมหันมานับถือศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้ จึงคงจะได้รับการดัดแปลงเป็นพุทธศาสนาลัทธิมหายานในช่วงนั้น
 
           ตัวโบราณสถาน ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟ ที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร จากพื้นราบ คำว่า "พนมรุ้ง" หรือ "วนํรุง" เป็นภาษาเขมรแปลว่า "ภูเขาใหญ่" ปราสาทพนมรุ้งหันไปทางทิศตะวันออก ประกอบ ด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ตั้งเรียง รายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธาน บนยอดอัน เปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพังสามชั้น ผ่านขึ้นมาสู่ พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานาง เรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้าง เป็นระยะๆ ถนนทางเดิน นี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุด เชื่อมต่อระหว่างดินแดน แห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้าน ข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้าง ด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพาน นาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็น ชานพักเป็นระยะๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลา โล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้า ประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้า สู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมี สะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน
 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว


ท่องเที่ยว



ปรางค์ประธาน หรือส่วนที่สำคัญที่สุด ตั้งอยู่ตรง ศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่างๆ ตลอดจนกลีบขนุนปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤาษี เทพประจำทิศ ศิวะ นาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและ รายละเอียดอื่นๆ ช่วยให้ กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและ สะพานนาคราช สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17
 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว



ท่องเที่ยว
            ภายในลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีปรางค์ขนาดเล็ก 1 องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทาง ศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบันทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่าปรางค์องค์นี้สร้างขึ้น ก่อนปรางค์ประธาน มีอายุ ในราวพุทธศตวรรษที่ 16


นอกจากนี้ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 อยู่ด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธานและที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกันกับพลับพลา ที่สร้างด้วยศิลาแลง ข้างทางเดินที่เรียกว่า "โรงช้างเผือก"


กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมแซมและบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง โดยวิธีอนัสติโลซิส คือ รื้อของเดิมลง มาโดย ทำรหัสไว้จากนั้นทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนที่รื้อรวมทั้งที่พังลงมากลับไปก่อใหม่ ที่เดิม โดยใช้วิธีการสมัยใหม่ช่วย และเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปีพุทธศักราชที่ 2531 ได้มีพิธีเปิดอุทยาน ประวัติศาสตร์พนมรุ้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธาน และปลายปีเดียวกัน ก็ได้รับทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์กลับคืนมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้มีความงดงามและ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะมีงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพนมรุ้ง จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท




























ปราสาทหินพนมรุ้ง



 วัดเขาอังคาร
 
มุม
            เขาอังคารเป็นภูเขาไฟดับสนิทแล้ว ห่างจากพนมรุ้ง 20 กิโลเมตร โดยลงมาจากพนมรุ้งถึงบ้านตาเป็กแล้ว เลี้ยวซ้ายมาตามทางที่จะไปละหานทราย ประมาณ 13 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางลูกรังอีกประมาณ 7 กิโลเมตร พบใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีหลายชิ้น ปัจจุบันมีวัดเขาอังคารอยู่บนยอดเขา เป็นวัดสวย งามสร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบ และภายในโบสถ์ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง ราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย


วิหารใหญ่                                หนึ่งในมุมฮิต      พระพุทธรูปประทับนอนวัดเขาอังคาร        ใบเสมาโบราณ      
                                           
วัดเขาอังคาร                                                         

 อำเภอนางรอง      


อ่างเก็บน้ำทุ่งแหลม            


           ริมทางหลวงหมายเลข 24 ทางด้านซ้ายมือระหว่างทางจากอำเภอนางรองไป ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้เป็นที่พักริมทาง มีศาลาริมน้ำรับลมเย็นสบายและใน บริเวณนี้มีฝูงนกเป็ดน้ำจำนวนมากมายอาศัยอยู่ในฤดูแล้ง            


อำเภอปะคำ

วัดโพธิ์ย้อย

                                    วัดโพธิ์ย้อย

             วัดโพธิ์ย้อยตั้งอยู่ที่บ้านปะคำ หมู่ที่ 1 ตำบลปะคำ จากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ใช้เส้นทางหลวงสาย 208 (บุรีรัมย์-นางรอง) ถึงอำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงสาย 2118 (นางรอง-ปะคำ) จนถึงทางแยกอำเภอ ปะคำจากนั้นจึงเลี้ยวซ้าย จะพบวัดโพธิ์ย้อยซึ่งตั้งอยู่ใกล้สี่แยกทางด้านขวามือ
             วัดโพธิ์ย้อย เป็นวัดที่ไม่เก่าแก่นัก จึงไม่ได้ถูกมองและศึกษาในรูปแบบของศิลปะการก่อสร้าง หากแต่มีความ สำคัญด้วยมีโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในบริเวณใกล้เคียงเก็บรักษาไว้ ได้แก่ ทับหลัง 5 ชิ้น ใบเสมา 3 แผ่น เสาศิลา 5 หลัก ชิ้นส่วนเสากรอบประตูและฐานศิวลึงค์อย่างละชิ้น
             สำหรับทับหลังซึ่งตั้งอยู่ทางด้านหน้าพระประธาน ด้านขวาสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประทับในซุ้มเรือนแก้ว แวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา กล่าวกันว่าเป็นทับหลังที่เคลื่อนย้ายมาจาก ประสาท หินบ้านโคกปราสาท หรือที่เรียกว่า ปราสาทบ้านโคกงิ้ว ซึ่งตั้งห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร ทางทิศ เหนือ ทับหลังด้านซ้ายสลักเป็นภาพเล่าเรื่องการถวายสตรีให้กับบุคคลผู้มีอำนาจ อาจเป็นกษัตริย์หรือเทพ ภาพบุคคลนั่งเรียงกันภายในซุ้ม มีลายพันธุ์พฤกษาล้อมรอบ และมีปลายทับหลัง 2 ข้าง เป็นภาพมังกรหัน หน้าออกคายลายก้านต่อดอก
             ส่วนทับหลังด้านหลังพระประธาน ด้านขวาสลักเป็นภาพพระอิศวรทรงโคในซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาล ซึ่งใช้มือทั้งสองยึดจับที่ท่อนพวงมาลัย 2 ข้าง มีลายมาแบ่งที่เสี้ยวเป็นรูปบุคคล นั่งในซุ้มเหนือดอกบัวมี ก้านประกอบและทับหลังบนกุฏิอีก 1 ชิ้น สลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณเหนือหน้ากาล ซึ่งใช้มือ ยึดท่อนพวงมาลัย ด้านข้างพระอินทร์เป็นภาพสิงห์ยืน
             จากลักษณะทางด้านศิลปกรรมของทับหลังเหล่านี้ สามารถกำหนดอายุโดยประมาณได้ว่าอยู่ในราวช่วง พุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับศิลปะขอมแบบเกลี้ยงและบาปวน
นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น เสาศิลาสลักเป็นรูปโยคีภายในซุ้มและใบเสมา ปักกระจายอยู่รอบอุโบสถ เสมาที่สลักเป็นรูปธรรมจักรอย่างสวยงาม และยังมีชิ้นส่วนของฐานศิวลึงค์ด้วย บริเวณที่ตั้งวัดโพธิ์ย้อย สันนิษฐานว่าอาจเคยเป็นอาคารที่เรียกกันว่า อโรคยศาล ด้วยฐานอุโบสถ ไม้ตั้งอยู่บนฐานโบราณสถานเก่าก่อ ด้วยศิลาแลง ซึ่งอาจจะเป็นฐานปรางค์ ทางด้านหลังอุโบสถ มีร่องรอยของสระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมและ ศิลาจารึกที่เรียกว่า จารึกด่านปะคำ ซึ่งเป็นจารึกประจำ อโรคยศาล ก็มีการกล่าวถึงในเอกสารของนักสำรวจ ชาวฝรั่งเศสว่าได้ไปจากวัดนี้ แต่เรียกชื่อว่าวัดปะคำ วัดโพธิ์ย้อยจึงนับเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งใน จังหวัดบุรีรัมย์

วัดโพธิ์ย้อย  


อำเภอพุทไธสง


พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์

            พระเจ้าใหญ่เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิขนาดหน้าตัก 1.6 เมตร สูง 2 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มี ลักษณะของศิลปะพื้นเมือง ประดิษฐานอยู่ที่วัดหงษ์ หรือวัดศีรษะแรด เป็นที่เคารพ สักการะของประชาชน จำนวนมาก นอกจากนี้ ยังพบพระพิมพ์รูปใบขนุน "รวมปาง" สำริด และพระพุทธรูปแกะสลักจากนอแรดที่ ใต้ฐาน พระเจ้าใหญ่ด้วย ในวันขึ้น 14 ค่ำ หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี จะจัดงานเฉลิมฉลองขึ้น โดยมีชาวอำเภอพุทไธสง และจังหวัดต่างๆ ไปนมัสการ กราบไหว้เป็นจำนวนมาก การเดินทางไปวัด จาก ตลาดพุทไธสง ถึงทางแยกเลี้ยวขวา ใช้เส้นทางที่จะไปพยัคฆภูมิพิสัย ระยะทางประมาณ 1 กม. และ มีทางแยกเข้าวัดอีก 2 กม.

อำเภอห้สยราช

สวนนก

 
           ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด ตำบลห้วยราช การเดินทางใช้เส้นทางสายบุรี-รัมย์-ประโคนชัย ทางหลวงหมายเลข 219 ประมาณ 15 กม. มีทางลูกรังแยกซ้ายไปประมาณ 2 กม.
           เขตสวนนกนี้ ได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า อ่างเก็บน้ำห้วยตลาดเป็นที่อยู่อาศัยของ นกนานาชนิด ซึ่งมี ทั้งนกท้องถิ่นและนกที่อพยพมาจากประเทศแถบหนาว บริเวณสวนนกมีต้นไม้ร่ม รื่น และมีศาลาริมอ่างเก็บ น้ำสำหรับพักผ่อนและชมชีวิตความเป็นอยู่ของนกในบริเวณนี้

 

อำเภอนาโพธิ์

ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าไหมบ้านนาโพธิ์

ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าไหมบ้านนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ 

ตั้งอยู่ในเขตตัวอำเภอนาโพธิ์ การเดินทางใช้เส้นทางสายบุรีรัมย์ -พุทไธสง ทางหลวงหมายเลข 2074 ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 202 บริเวณกม.ที่ 21 มีทางแยกเข้าตัวอำเภอนาโพธิ์ เป็นระยะทาง 10 กม. ในบริเวณศูนย์หัตถกรรมแห่งนี้ มีโรงทอผ้าไหม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในด้านการพัฒนาฝีมือให้ได้มาตรฐานทั้งรูปแบบ วิธีผลิต และลวดลาย รวมทั้งการให้สี ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สีจาก ธรรมชาติ นอกจากนี้ ด้านหน้าศูนย์ยังมีร้านจำหน่ายผ้าไหม ผ้ามัดหมี่ คุณภาพดีอีกด้วย

 ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าไหมบ้านนาโพธิ์
 ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าไหมบ้านนาโพธิ์   


 ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าไหมบ้านนาโพธิ์

 ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าไหมบ้านนาโพธิ์


กิ่งอำเภอโนนดินแดง
อนุสาวรีย์เราสู้
อยู่ที่อำเภอโนนดินแดง ริมทางสายละหานทราย-ตาพระยา (ทางหลวงหมายเลข 348) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของประชาชน ตำรวจ ทหาร ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้ผู้ก่อการร้ายที่ขัดขวางการสร้างเส้นทางยุทธศาสตร์สายนี้ ถนนสาย “ละหานทราย-ตาพระยา” เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ก่อสร้างในห้วงเวลาการสู้รบระหว่างเจ้าหน้าที่บ้านเมืองกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ หรือ “ผกค.” การต่อต้านจากผกค. เป็นไปอย่างรุนแรง แต่ด้วยความกล้าหาญของชาวบุรีรัมย์ที่ผนึกกำลังกับ ทหาร ตำรวจ ยอมเสียสละชีวิตกว่า 100 นาย เส้นทางสายนี้จึงสำเร็จลงได้ และคือที่มาของ “อนุสาวรีย์เราสู้” วีรกรรมผู้กล้าชาวบ้านโนนดินแดง

บรรพบุรุษของไทยแต่อดีต ไม่ว่าหญิงหรือชาย ได้ยอมเสียสละเลือดเนื้อ ชีวิต เพื่อปกป้องรักษาผืนแผ่นดินไทยเอาไว้ให้เป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลาน จนพวกเราทุกคนได้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขสืบมา ทางหนึ่งที่แสดงออกได้ถึงการสำนึกในบุญคุณและเทิดทูนวีรกรรมดังกล่าว คือการสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจดังเช่น “อนุสาวรีย์เราสู้” ที่ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์

“เราสู้” เป็นอนุสาวรีย์แห่งใหม่ สร้างในสมัย นายบำรุง สุขบุษย์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ โดย กอ.รมน.จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร่วมกับข้าราชการและประชาชนชาวบุรีรัมย์ร่วมกันจัดสร้างขึ้น ณ ริมทางหลวงสายละหานทราย-ตาพระยา ที่ บ้านโนนดินแดง ต.โนนดินแดง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ห่างจากศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ 103 กิโลเมตร       

“อนุสาวรีย์เราสู้” แห่งนี้ใช้เวลาก่อสร้างนาน 1 ปี ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม 2522 ถึง 26 สิงหาคม 2523 เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงเกียรติประวัติ และสดุดีวีรกรรมประชาชน เจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ได้ผนึกกำลังเข้าร่วมต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ที่ดักซุ่มโจมตีขัดขวางการก่อสร้างถนนสายละหานทราย-ตาพระยา และด้วยความกล้าหาญ ความรักสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เส้นทางสายยุทธศาสตร์เส้นนี้จึงสำเร็จลงได้

ก่อนปี พ.ศ.2508 ห้วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างรุนแรง จนถึงขั้นใช้กำลังเข้าตัดสินปัญหา ได้มีการยุยงปลุกปั่นราษฎรให้เลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ เพื่อต่อต้านรัฐบาลมีการสะสมกองกำลังขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และมีการก่อการร้ายเป็นระยะ จนเหตุการณ์ได้ถึงจุดรุนแรงที่สุดในปี พ.ศ.2521

เส้นทางสายยุทธศาสตร์บุรีรัมย์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2513 เมื่อรัฐบาลได้เริ่มโครงการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 61 อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ กับหลักกิโลเมตรที่ 118 อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ในปัจจุบันเป็นระยะทาง 57 กิโลเมตร

 อนุสาวรีย์เราสู้  



เขื่อนลำนางรอง


             อยู่ในเขตบ้านโนนดินแดง ห่างจากอนุสาวรีย์เราสู้ประมาณ 1 กม. ก่อนถึงอนุสาวรีย์จะพบทางแยกเข้าไปทางซ้าย เป็นลักษณะเขื่อนดินฐานคอนกรีต มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านตัวอย่างหมู่บ้านพัฒนาหนองตาเยาว์และหนองหว้า ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดน ประมาณ 20 กม.เท่านั้น ที่สันเขื่อนมีหินลอย (หินภูเขาไฟอีกชนิดหนึ่ง) เป็นก้อนและแผ่น สีสันแบ่งกันเป็นชั้นๆสวย งาม ซึ่งได้นำออกไปกองไว้กันน้ำเซาะสันเขื่อน และใกล้กับเขื่อนลำนางรองนี้มีเขื่อนคลองมะนาวซึ่งมีขนาด เล็กกว่า แต่ก็สวยงามสงบเงียบ ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวบุรีรัมย์อีกแห่งหนึ่ง



หาดลำนางรอง
เป็น สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น"ทะเลสาบแห่งอีสานใต้" หาดลำนางรองเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมได้ ทุกวัน

บริการสำหรับนักท่องเที่ยวคือ
บริการเรื่องอาหารและเครื่องดื่มจากร้านค้าสวัสดิการซึ่งเปิดบริการทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 8.30 - 22.00 น.




 

  

ปราสาทหนองหงส์

 ปราสาทหนองหงส์ 
 
            ตั้งอยู่ที่บ้านโนนดินแดง ตำบลโนนดินแดง การเดินทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ ใช้ทาง หลวงสาย 219 ถึงอำเภอประโคนชัย จากสี่แยกตรงไปตามทางหลวงสาย 2075 จนถึงนิคมบ้านกรวด เลี้ยวขวาเข้าทางสาย 2121จนถึงอำเภอละหานทรายเลี้ยวซ้ายเข้าทางสาย 3068ผ่านสี่แยกปะคำ ตรงต่อไปถึงบ้านโนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าเขื่อนลำนางรอง ตัวปราสาทอยู่ทางด้านซ้ายของแนวสันเขื่อน และห่างจากเขื่อนประมาณ 300 เมตร
ตัวปราสาทเป็นปรางค์ 3 องค์ ก่อด้วยอิฐ ตั้งบนฐานก่อด้วยศิลาแลงต่อเนื่องเป็นฐานเดียวกัน หันหน้าไป ทางทิศตะวันออกมีประตูเข้า-ออกทางด้านหน้าอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก ปรางค์ทั้งสามมีผังเป็นรูปสี่ เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง องค์กลางขนาดใหญ่กว่าสององค์ที่ขนาบข้าง แต่เดิมเคยมีทับหลังประดับ จำหลักลายอย่างสวยงาม คือ องค์ทิศเหนือสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหนือหน้ากาล ซึ่งมือยึด ท่อนพวงมาลัยแวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา อีก 2 องค์ที่เหลือ คือ องค์กลางและองค์ด้านทิศใต้ก็มี ลักษณะคล้ายกันต่างกันที่ภาพตรงกลาง คือ ทับหลังปรางค์องค์กลางสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ องค์ทิศใต้เป็นรูปพระอิศวรทรงโค ด้านหน้าของปรางค์ องค์กลาง มีทางเดินยื่นยาวออกไป มีบันไดทาง ด้านหน้าและด้านข้างทั้งสอง
            นอกจากนี้ยังมีวิหารหรือบรรณาลัยอีก 1 หลัง ก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าเข้าหา ปรางค์องค์ทิศใต้ อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีซุ้มประตูด้านหน้าและด้านหลัง มีคูน้ำรูป ตัวยู (U) ล้อมรอบอีกทีหนึ่ง การกำหนดอายุ สมัยของปราสาทนั้น จากลักษณะการก่อสร้าง และศิลปกรรม ที่พบซึ่งตรงกับ ศิลปะเขมรแบบ บาปวน ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16


        

 ปราสาทหนองหงส์   ปราสาทหนองหงส์      

กิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์


กู่สวนแตง



            ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงเรียนกู่สวนแตงวิทยาคม บ้านดอนหวาย ตำบลดอนหวาย การเดินทางจะใช้เส้นทาง บุรีรัมย์-พยัคฆภูมิพิสัย ทางหลวงหมายเลข 219 ระยะทาง 70 กม. แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 202 ทางไปอำเภอประทายอีกประมาณ 40 กม. จะพบทางแยกเข้าสู่กู่สวนแตงด้าน ซ้ายมือเลี้ยวเข้าไปอีก 1.5 กม. หรือจากบุรีรัมย์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2074 ผ่านอำเภอคูเมือง ไปอำเภอพุทไธสง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 202 ไปอีก 20 กม. เลี้ยวซ้ายเข้ากู่สวนแตงอีก 1.5 กม.
          ลักษณะของกู่สวนแตง สามารถบอกได้ว่าเป็นโบราณสถานแบบขอมอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปรางค์ อิฐ 3 องค์ ตั้งเรียงในแนวเหนือ-ใต้ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน อาคารทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูหน้าเพียงประตูเดียว อีก 3 ด้านสลักเป็นประตูหลอก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่และมีสภาพที่ ค่อนข้างสมบูรณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าที่มุขยื่นออกมาเล็กน้อย ตรงหน้าบันเหนือประตูหลอกทั้ง 3 ด้าน มีลักษณะยื่นออกมาและมีแผ่นศิลาทรายรองรับ
ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ มีขนาดเล็กกว่า ฐานเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูเดียวทางด้านหน้าเช่นกัน ส่วนผนังอีก 3 ด้าน ก่อเรียบทึบสำหรับบนพื้นหน้า ปรางค์ มีส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทรายอื่นๆ ตกหล่นอยู่ เช่น ฐานบัวยอดปรางค์ กลีบขนุนรูปนาค 6 เศียร อายุของกู่สวนแตงสามารถกำหนด ได้จากทับหลังของปรางค์ ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติพระนคร อยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 17 เนื่องจากภาพสลักบนทับหลังทั้งหมดมี ลักษณะตรงกับศิลปะ ขอมแบบนครวัด ที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิ ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์ ตรีวิกรม (ตอนหนึ่ง ในวามนาวตาร แสดงภาพพระนารายณ์ย่างพระบาท 3 ก้าว เหยียบโลกบาดาล โลกมนุษย์ และโลกสวรรค์) ทับหลังภาพศิวนาฏราช ทับหลังภาพการกวนเกษียรสมุทรทับหลังภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ ฯลฯ แต่ละชิ้นมีขนาดใหญ่สวยงามน่าสนใจยิ่ง

 

 




อำเภอน

างรอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น